2551-12-25

Health Update




Health Update
ขิงแก้เหงือกอักเสบ
ตั้งแต่วัยรุ่นเป็นต้นไปถึงวัยทำงานช่วงต้นๆ ทุก 3 ใน 4 คนมีปัญหาโรคเหงือก และในบรรดาปัญหาโรคเหงือกทั้งหลายเหงือกอักเสบสร้างความทรมานให้บ่อยที่สุด
สาเหตุของปัญหาโรคเหงือกและฟันส่วนใหญ่เกิดจากการทำความสะอาดไม่ทั่วถึง

ส่วนเหงือกอักเสบเกิดจากคราบฟันหรือที่เราเรียกว่าคราบพลัค (plaque)

ซึ่งประกอบด้วยเชื้อแบคทีเรียจากการหมักหมมของเศษอาหาร เกาะอยู่บนฟัน

หรือบริเวณขอบฟันจนในที่สุดจับตัวกันเป็นหินปูน เมื่อเกิดการติดเชื้อที่เหงือกหรือหินปูนเสียดสีกับเหงือก จึงทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
นอกจากการทำความสะอาดที่ไม่ทั่วถึงแล้ว สภาพร่างกายที่อ่อนแอ เช่น เมื่อพักผ่อนไม่

เพียงพอ มีความเจ็บป่วย ก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเหงือกอักเสบได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นช่วง

ที่ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย ยิ่งไปกว่านี้หากเกิดการกระทบกระทั่งระหว่างการแปรงฟัน

ก็จะเกิดเหงือกอักเสบขึ้นได้ง่าย และหายช้าได้ระหว่างที่มีอาการเหงือกอักเสบ

เรามีสมุนไพรที่มีสรรพคุณลดการอักเสบ ต้านการเกิดฝีหนองได้ ซึ่งทุกคนคุ้นเคยกันดีมาฝาก

เอาไว้ทาแก้เหงือกอักเสบ ซึ่งจะช่วยให้หายได้ในไม่กี่วัน
สมุนไพรที่ว่าคือขิงสด นำขิงสดมาปอกเปลือก ล้างให้สะอาด นำมาหั่นและบดละเอียด ให้ได้สัก 1 ช้อนชา เติมเกลือลงไปเล็กน้อย
ประมาณ 1/4 ช้อนชา ผสมให้เข้ากันดี นำมาทาบริเวณที่

เหงือกที่อักเสบ วันละหลายๆ ครั้ง อาการบวมของเหงือกจะค่อยๆ หายเป็นปกติ เมื่ออาการดีขึ้น

แล้ว อย่าละเลยการดูแลทั้งความสะอาดในช่องปาก และการดูแลสุขภาพจากภายในด้วยนะคะ

ที่มา : นิตยสารชีวจิต

น้ำตกลาวใต้
















เที่ยวลาวใต้

น้ำตกตาดเยือง น้ำตกผาส้วม น้ำตกคอนพะเพ็ง
ไร่กาแฟ ปากเซ

2551-12-24

ปุ๋ยป๋ย





ปุ๋ย
ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยพวกนี้ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดซึ่งเป็นพวกอินทรียสาร
ปุ๋ยคอก ที่สำคัญก็ได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ เป็นปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในบรรดาสวนผักและสวนผลไม้ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปแล้วถ้าคิดราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืชจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยคอกช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มาก นาข้าวที่เป็นดินทราย เช่น ดินภาคอีสาน การใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์อื่น ๆ เท่าที่จะหาได้ในบริเวณใกล้เคียง จะช่วยให้การดำนาง่าย ข้าวตั้งตัวได้ดี และเจริญเติบโตงอกงามอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากดินทรายพวกนี้มีอินทรียวัตถุต่ำมาก การใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ลงไปจะทำให้ดินอุ้มน้ำและปุ๋ยได้ดีขึ้น การปักดำกล้าทำได้ง่ายขึ้น เพราะ หลังทำเทือกแล้วดินจะไม่อัดกันแน่น
ปุ๋ยคอกมีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมค่อนข้างต่ำ โดยหยาบ ๆ แล้วก็จะมีไนโตรเจนประมาณ 0.5% N ฟอสฟอรัส 0.25% P2O5 และโพแทสเซียม 0.5% K2O
ปุ๋ยขี้ไก่และขี้เป็ด จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้หมู และขี้หมูจะปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้วัว และขี้ควาย ปุ๋ยคอกใหม่ ๆ จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกที่เก่าและเก็บไว้นาน ทั้งนี้เนื่องจากส่วนของปุ๋ยที่ละลายได้ง่ายจะถูกชะล้างออกไปหมด บางส่วนก็กลายเป็นก๊าซสูญหายไปดังนั้นการเก็บรักษาปุ๋ยคอกอย่างระมัดระวังก่อนนำไปใช้ จะช่วยรักษาคุณค่าของปุ๋ยคอกไม่ให้เสื่อมคุณค่าอย่างรวดเร็ว
ที่มา : http://www.school.net.th/library/snet6/envi2/subsoil/puy.htm














คุณสมบัติทั่วไปของน้ำสกัดชีวภาพ
1. มีค่า pH (ความเป็นกรดเป็นด่าง) อยู่ในช่วง 3.5 - 5.6 ปฏิกิริยาเป็นกรดถึงกรดจัด ซึ่ง pH ที่เหมาะสมกับพืชควรอยู่ในช่วง 6 – 7
2. ความเข้มข้นของสารละลายสูง โดยค่าของการนำไฟฟ้า (Electrical conductivity , E.C) อยู่ระหว่าง 2 - 12 desicemen / meter (ds / m) ซึ่งค่า E.C ทีเหมาะสมกับพืชควรจะอยู่ต่ำกว่า 4 ds / m
3. ความสมบูรณ์ของการหมัก พิจารณาจากค่า C / N ration มีค่าระหว่าง 1 / 2 - 70 / 1 ซึ่งถ้า C / N ratio สูง เมื่อนำไปฉีดพ่นบนต้นพืชอาจแสดงอาการใบเหลืองเนื่องจากขาดธาตุไนโตรเจนได้
4.ปริมาณธาตุอาหาร ธาตุอาหารหลัก (N,P,K)
4.1ไนโตรเจน (% Total N) ถ้าใช้พืชหมัก พบไนโตรเจน 0.03 - 1.66 % แต่ถ้าใช้ปลาหมักจะพบประมาณ 1.06 - 1.70 %
4.2 ฟอสฟอรัส ( % Total P2 O5 ) ในน้ำหมักจากพืชจะมีตั้งแต่ไม่พบเลยจนถึง 0.4 % แต่ในน้ำหมักจากปลาพบ 0.18 - 1.14 %
4.3โพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (% Water Soluble K2 O) ในน้ำหมักพืชพบ 0.05 - 3.53 % และในน้ำหมักจากปลาพบ 1.0 - 2.39 %
5. ธาตุอาหารรอง (Ca, Mg,S)
5.1แคลเซียม ในน้ำหมักจากพืชพบ 0.05 - 0.49 % และน้ำหมักจากปลาพบ 0.29 - 1.0% 5.2แมกนีเซียมและซัลเฟอร์ ในน้ำหมักจากพืชและปลาพบในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน คือ 0.1- 0.37 %
6. ธาตุอาหารเสริม
6.1 เหล็ก ในน้ำหมักจากพืชพบ 30 - 350 ppm. และน้ำหมักจากปลาพบ 500 - 1,700 ppm.
6.2 คลอไรด์ น้ำหมักจากพืชและปลามีปริมาณเกลือคลอไรด์สูง 2,000 - 11,000 ppm.
6.3 ธาตุอาหารเสริมอื่นๆ ได้แก่ แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน และโมลิบดินัม น้ำหมักทั้งจากพืชและปลาพบในปริมาณน้อย มีค่าตั้งแต่ตรวจไม่พบเลย ถึง 130 ppm.
7.ปริมาณกรดอะมิโน ผลวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโนในน้ำสกัดชีวภาพ 100 กรัม ปรากฏดังนี้
กรดแอสปาร์ติค 346.06 ทรีโอนีน 26.34 ซีรีน 39.30 กรดลูตามิค 127.45 โปรลีน 1.26
ไกลซีน 13.24 อะลานีน 91.69 ซีสตีน 17.88 วาลีน 55.26 เมไทโอนีน 9.37 ไอโซลิวซีน 26.26
ลิวซีน 34.30 ไทโรซีน 22.14 ฟีนิลอะลานีน 4.44 ฮีสติดีน 16.28 ไลซีน 30.20 อาร์จินีน 18.76
ทริปโตเฟน 6.22 มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม/100กรัม
7.ปริมาณฮอร์โมนพืช ผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมนพืช 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่ม Auxin (Indole acetic acid : IAA)
2. กลุ่ม Gibberellins (Gibberellic acid : GA3)
3. กลุ่ม Cytokinins (Zeatin และ Kinetin)
1. IAA ตรวจพบทั้งในน้ำหมักจากพืชและสัตว์ แต่พบในปริมาณน้อย มีค่าในช่วงตั้งแต่ น้อยมากจนไม่สามารถวัดได้ - 2.37 ppm
2. GA3 ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางชนิดในปริมาณ 18 - 140 ppm. ไม่พบ GA3 ในน้ำหมักจากปลา
3. Zeatin ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางตัวอย่างในปริมาณน้อย 1 - 20 ppm. และพบในน้ำหมักจากปลาที่ใส่น้ำมะพร้าว 2 - 4 ppm.
4. Kinetin ตรวจพบในน้ำหมักจากพืชบางชนิดในปริมาณ 1 - 14 ppm. แต่ไม่พบในน้ำหมักจากปลา
จากผลการวิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นว่าคุณภาพและประสิทธิภาพของน้ำสกัดชีวภาพ ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ จุลินทรีย์ที่ทำให้ย่อยสลาย กระบวนการย่อยสลายที่สมบูรณ์ไม่เน่าเสีย ความเข้มข้นของสารละลาย และความเป็นกรดเป็นด่าง
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศ กรมวิชาการเกษตร From: http://www.nrru.ac.th/knowledge/agr013.asp




ท่องเที่ยว เวียงจันทน์-วังเวียง-หลวงพระบาง